วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

สารก่อมะเร็ง

พบกลิ่นธูปเป็นชนวนเหตุให้เกิดโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด ทั้งนี้ ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “สารก่อมะเร็ง ภัยเงียบที่มากับควันธูป” โดย นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู รพ.วิชัยยุทธ กล่าวว่า ตนและ น.ส.พนิดา นวสัมฤทธิ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับอันตรายของควันธูป เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของคนไทย โดยร้อยละ 80-90 มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ แต่ขณะเดียวกัน จากสถิติการรักษา ผู้ป่วยมะเร็งปอดในเพศหญิงกลับพบว่ากว่าร้อยละ 50 ไม่พบประวัติสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ อีกทั้ง ไม่มีประวัติสัมผัสสารก่อมะเร็งจากการประกอบอาชีพเลย แต่กลับเป็นมะเร็งปอด ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากภัยที่เพิ่งค้นพบคือ สารพิษก่อมะเร็งจากควันธูป

นพ.มนูญกล่าวต่อว่า จากการศึกษาควันธูปมีสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด ได้แก่ เบนซิน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน มีส่วนประกอบมาจากกาว ขี้เลื่อย น้ำมันหอมและสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม เป็นต้น โดย สารก่อมะเร็งเกิดจากการเผาไหม้ของกาวและน้ำหอม เป็นสำคัญ โดยธูป 1 ดอก จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 325 กรัม และก๊าซมีเทน 7 กรัม ซึ่งมีศักยภาพเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 23 เท่า นอกจากนี้ยังมีสารพิษอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งมีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็งชนิดต่างๆ อาทิ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งในระบบเลือด มะเร็งปอด และมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ

นายแพทย์หัวหน้าห้องไอซียู รพ.วิชัยยุทธ กล่าวอีกว่า ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจหาสารก่อมะเร็ง บริเวณวัด 3 แห่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ซึ่งเป็นวัดดังและมีผู้คนนิยมไปกราบไหว้มาก โดยได้สำรวจคนงานที่ปฏิบัติงานในวัดจำนวน 40 คน เปรียบเทียบกับคนงานในหน่วยงานที่ไม่มีการจุดธูปจำนวน 25 คน โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะ พบว่าคนงานที่ทำงานในวัดทั้งหมด มีสารก่อมะเร็งสูงกว่าคนที่ไม่ทำงานในวัดถึง 4 เท่า ขณะที่สารบิวทาไดอีน สูงกว่า 260 เท่า และสารในกลุ่มพีเอเอช จำพวกฟาร์มาลดีไฮด์ พบสูงกว่า 12 เท่า นอกจากนี้ ยังพบสารเบโซเอไพรีน ซึ่งเป็นสารที่มีศักยภาพในการก่อมะเร็งสูงสุด โดยพบว่าในวัดมีสารดังกล่าวสูงกว่าสถานที่ที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า ที่สำคัญจากการตรวจร่างกายในคนงานในวัด 40 คน ยังพบการแตกหักของรหัสพันธุกรรมสูงกว่าคนปกติถึง 2 เท่า

“ควันธูปในวัดส่งผลอันตรายต่อประชาชน โดยเฉพาะกับพระสงฆ์ คนงานที่ทำงานในวัด แต่ที่น่ากังวลมากที่สุด คือ บริเวณศาลเจ้า หรือ วัดจีน โดยเฉพาะย่านเยาวราช ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการจุดธูปตลอดทั้งวัน และอากาศไม่ค่อยถ่ายเท ประกอบกับยังมีควันพิษจากท่อไอเสีย ทำให้เป็นแหล่งรวมสารก่อมะเร็งที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด ที่สำคัญที่มองข้ามไม่ได้คือการจุดธูปในบ้าน ตามความเชื่อและประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงทำให้มีควันธูปในบ้านมาก ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยธูป 3 ดอก สามารถปล่อยมลพิษและสารก่อมะเร็งได้เทียบเท่าสี่แยกไฟแดงที่มีการจราจรคับคั่ง” นพ.มนูญกล่าวและว่า ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Chemico biological/ interactions ของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน ก.พ.2551 ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีของธูปที่ไร้ควัน หรือธูปอโรมา มีสารก่อมะเร็งหรือไม่ นพ.มนูญกล่าวว่า ธูปทุกชนิด ล้วนมีสารก่อมะเร็งทั้งสิ้น ธูปไร้ควันและธูปอโรมา เคยมีงานวิจัยออกมาพบว่า มีการปล่อยสารเบนซินมากกว่าธูปธรรมดาด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรมีการรณรงค์ เรื่องนี้ให้ระมัดระวังกันถ้วนหน้า และต้องมีการรณรงค์ดับควันธูป โดยหลังจากจุดธูปแล้ว ควรมีการจุ่มธูปลงในน้ำหรือทรายก่อนปักลงในกระถาง จะช่วยลดควันธูปได้ และในอนาคต ภาคอุตสาหกรรมควรมีการผลิตธูปที่เมื่อจุดแล้วดับได้ทันทีภายในไม่กี่วินาที

สารพิษในอาหาร

สารปนเปื้อนในอาหาร  เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์  ซึ่งมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจนถึงเสียชีวิตได้  สารปนเปื้อนในอาหารแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ประเภทคือ
   1.  สารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  แบ่งออกตามชนิดของสารพิษได้ดังนี้
1.1  สารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์   เช่น    สารอะฟลาทอกซิน  (aflagoxin)   ซึ่งเป็นสารสร้างจากเชื้อราพวกแอสเพอร์จิลลัส  (aspergillus spp)  รานี้เจริญได้ดีในถั่วลิสงและเมล้ดพืชที่ชื้น  ซึ่งความร้อนสูงไม่สามารถ
ทำลายสารอะฟลาทอกซินได้ส่วนใหญ่สารนี้จะตกค้างที่ตับทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับ
1.2  สารพิษจากเห็ดบางชิด  ทำให้เมา  มีอาการคลื่นไส้  และอาเจียน
1.3   สารพิษในพืชผัก

2.  สารพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  ส่วนให่เป็นผลมาจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรานำมาใช้ใน
ชีวิตประจำวัน  มีดังนี้
2.1  สารตกค้างจากการเกษตร  เช่น  ดีดีที  ปุ๋ย  ยาปราบศัตรูพืช  ซึ่งอาจสะสมในอาหาร  เมื่อรับประทาน
เข้าไปจะเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
2.2  สิ่งเจือปนในอาหาร  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.  สารกันอาหารเสีย  เป็นสารที่ช่วยให้อาหารคงสภาพ  รส  กลิ่น  เหมือนเมื่อแรกผลิตและเก็บไว้
ได้นาน  เช่น  สารกันบูด  สารกันหืด  เป็นต้น
 2.สารแต่งกลิ่นหรือรส  เป็นสารที่ช่วยให้อาหารมีรสและกลิ่นถูกใจผู้บริโภค  หรือใช้แต่งกลิ่นรส
ผู้บริโภคเข้าใจคิดผิดว่าเป็นของแท้ หรือมีส่วนผสมอยู่มากหรือน้อยทั้งที่เป็นของเทียน สารเหล่านี้ได้แก่ 
เครื่องเทศ
- สารกลิ่นผลไม้
    - สารรสหวานประเภทน้ำตาลเทียม ซึ่งเป็นสารที่ให้ความหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล
    - ผงชูรสเป็นสารประกอบที่เรียกว่ามอนอโซเดียมกลูเมต  ถ้าเป็นผงชูรสปลอมจะใส่สารโซเดียม
เมตาฟอสเฟตและบอแรกซ์  ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมาก  
3. สีผสมอาหาร  เป็นสีที่ใส่เพื่อจะช่วยแต่งเติมให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น  มีทั้งสีจากธรรมชาติซึ่ง
เป็นสีที่ได้จากพืชและสัตว์ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต    เช่ สีดำจากถ่าน  สีแดงจากครั่ง   เป็นต้น
และ สีสังเคราะหส่วนมากจะเป็นสารพิษที่ร้ายแรงต่อร่างกาย มักมีตะกั่วและโครเมียมอยู่ เช่น สีย้อม